มาตรฐานความสูงนักกีฬาไทยสำหรับกีฬา Winter Slide Sports

ความสูงของนักกีฬาไทยที่ต้องการสำหรับกีฬา Slide

ข้อมูลส่วนสูง ช่วงอายุ นักกีฬาชาย นักกีฬาหญิง
10 ปี 144+ cm 144+ cm
11 ปี 149+ cm 149+ cm
12 ปี 159+ cm 157+ cm
13 ปี 166+ cm 160+ cm
14 ปี 172+ cm 162+ cm
15 ปี 175+ cm 165+ cm

 

คณะกรรมการสมาคมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ดแห่งประเทศไทย 2564 – 2567 (2021-2024)

สมาคมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ดแห่งประเทศไทย (Ski and Snowboard Association of Thailand: SSAT) ได้รับจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2559

รายชื่อคณะกรรมการ สมาคมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ดแห่งประเทศไทย 2564 – 2567
Continue reading “คณะกรรมการสมาคมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ดแห่งประเทศไทย 2564 – 2567 (2021-2024)”

บริจาค สมาคมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ดฯ หักลดหย่อนภาษี 2 เท่า

ครม.เห็นชอบมาตรการภาษีจูงใจผู้บริจาคเพื่อสนับสนุนกีฬา

น.ส. รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 7 มี.ค. 66 ได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่…) พ.ศ…. (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการกีฬา) โดยมีสาระสำคัญ เป็นการกำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ แก่ผู้บริจาคที่เป็นบุคคลธรรมดา หรือ บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล Continue reading “บริจาค สมาคมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ดฯ หักลดหย่อนภาษี 2 เท่า”

การขึ้นทะเบียนนักกีฬาประจำจังหวัด และ การจัดตั้งชมรมกีฬาประจำจังหวัด

มาสรุปให้ฟังง่ายๆ ก่อนว่า ทำไมจึงต้องขึ้นทะเบียนนักกีฬาประจำจังหวัด?
ตอบ: นักกีฬาที่จะเข้าร่วมการแข่งขันในมหกรรมกีฬาแห่งชาติ กีฬาเยาวชนแห่ง ต้องเป็นนักกีฬาตัวแทนจังหวัดเท่านั้น (*** ต้องขึ้นทะเบียนล่วงหน้า 6 เดือนก่อนถึงการแข่งขัน ***)

นักกีฬาสามารถขอขึ้นทะเบียนด้วยตัวเองโดยตรงที่สมาคมกีฬาจังหวัดได้ แต่โดยมาก การมีชมรมเป็นผู้ดำเนินการให้จะทำให้การดำเนินการราบรื่นกว่า เพราะจะมีการกรอกข้อมูลและติดตามข้อมูล ต่างๆ ที่ต้องประสานและติดตามต่อเนื่องอีกหลายเรื่อง 

แล้วจะจัดตั้งชมรมกีฬาประจำจังหวัดไปทำไม?
ตอบ:
ก็เพราะผู้ที่มีสิทธิ์ส่งนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันในมหกรรมกีฬาแห่งชาติ กีฬาเยาวชนแห่งชาติ คือ สมาคมกีฬาแห่งจังหวัด

สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดมีหน้าที่ดูแลทุกชนิดกีฬา จึงจำเป็นที่จะต้องมีผู้ช่วยดูแล ติดตาม และสนับสนุนนักกีฬา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของสมาคมกีฬาจังหวัดมีไม่เพียงพอ สมาคมกีฬาจังหวัดส่วนมากจึงทำงานร่วมกับชมรมกีฬาประจำจังหวัดในแต่ละชนิดกีฬา และให้อำนาจชมรมกีฬาแต่ละชมรมไปบริหารจัดการกันเอง พอถึงเวลาส่งแข่งขัน ชมรมกีฬาจึงมีหน้าที่สำคัญคือ คันตัวนักกีฬาเพื่อเสนอชื่อต่อสมาคมกีฬาจังหวัด และในกรณีที่จังหวัดเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ชมรมกีฬาก็จะมีหน้าที่เพิ่มเติมคือ เป็นผู้ประสานงานดูและการจัดการแข่งขันอีกด้วย

ชมรมนี้จะมีหน้าที่ดังนี้
1. เป็นผู้จัดเตรียมและยื่นเอกสาร ขึ้นทะเบียนนักกีฬาประจำจังหวัด ให้กับสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด
2. พิจารณารายชื่อนักกีฬาส่งแข่งขัน ตามโควต้าร์ที่ทางสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดมอบให้
3. พิจารณาจัดการแข่งขันคัดเลือกตัวนักกีฬาโดยของบประมาณจากทางจังหวัดมาบริหารจัดการ
4. กรณีจังหวัดได้เป็นเจ้าภาพ ชมรมกีฬานั้นๆ ก็จะมีหน้าที่ประสานงานจัดการแข่งขันในฐานะเจ้าภาพ
4. สมาคมกีฬาแห่งจังหวัด หรือ กกท จังหวัด หากมีจัดกิจกรรมหรือมีการสนับสนุนใดๆ ก็จะประสานผ่านทางชมรมเป็นหลัก
5. หากมีงบประมาณอุดหนุนจากสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย ทั้งระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศ ก็จะผ่านมาที่ชมรมกีฬาเป็นหลัก

เมื่อทราบรายละเอียดและสิทธิ์ประโยชน์เบื้องต้นกันแล้ว ก็มาลงรายละเอียดกันเลย

*****************************

 

การขึ้นทะเบียนนักกีฬาสังกัดสมาคมกีฬาจังหวัด

*** นักกีฬาที่เคยขึ้นทะเบียนกับกีฬาชนิดอื่นแล้ว ไม่ต้องยื่นขอขึ้นทะเบียนใหม่ แค่แจ้งย้ายชนิดกีฬาที่ตัวเองเล่น ที่สมาคมกีฬาจังหวัดก็จะสามารถลงแข่งขันได้ ***

จะเลือกขึ้นทะเบียนนักกีฬาที่จังหวัดไหนดี?
แต่ละจังหวัดก็จะมีการสนับสนุนนักกีฬาที่แตกต่างกัน บางจังหวัดให้สิทธิ์ประโยชน์มาก บางจังหวัดให้น้อย หรือ บางจังหวัดมีนักกีฬาเยอะ โอกาสที่จะได้รับคัดเลือกให้ไปแข่ง ก็ยาก เพราะต้องแข่งขันกันเองในจังหวัด แต่ถ้าไปขอลงที่จังหวัดที่คู่แข่งน้อยๆ โอกาสที่จะได้รับคัดเลือกก็สูงกว่า 
นักกีฬาจึงต้องเลือกว่าจะขึ้นทะเบียนที่จังหวัดไหนถึงจะดีกับตัวเองมากที่สุด
แล้วจะเลือกได้ยังไงบ้าง?
1. ดูใบเกิดตัวเองก่อนเลยว่าในใบเกิดระบุจังหวัดไหน ย้ายเข้าบ้านที่จังหวัดไหนเป็นที่แรก? (เรียกว่าขึ้นทะเบียนตามสูติบัตร) ซึ่งจะใช้สิทธิ์เลือกได้เพียงครั้งแรกครั้งเดียว 
เคสเพิ่มเติม: ถ้านักกีฬาเกิดที่จังหวัดนึง จากนั้นไปย้ายเข้าทะเบียนบ้านแรก อีกจังหวัดนึง ก็จะมีตัวเลือกได้ 2 จังหวัด ยกตัวอย่าง ตอนคลอด คลอดที่ กรุงเทพ ซึ่ง รพ. ในกรุงเทพจะมีทะเบียนบ้านชั่วคราวให้ย้ายเข้าก่อน จากนั้นพอออกจาก โรงพยาบาล ก็ทำเรื่องย้ายทะเบียนบ้าน ไปเข้าที่ทะเบียนบ้านจริงที่ชลบุรี อันนี้เรียกว่าทะเบียนบ้านแรก ทำให้นักกีฬาคนนี้มีจังหวัดให้เลือกเป็น 2 ตัวเลือก คือ กรุงเทพ หรือ ชลบุรี ก็ได้

2. ดูที่โรงเรียนปัจจุบันว่าเรียนอยู่จังหวัดไหน? (เรียกว่าขึ้นทะเบียนตามสถานศึกษา) ข้อนี้ ถ้าอยากไปขึ้นทะเบียนจังหวัดไหนเป็นพิเศษ นักกีฬาจะต้องย้ายสถานศึกษาไปที่จังหวัดนั้นๆ ก็สามารถทำได้

3. แบบสุดท้าย คือขึ้นทะเบียน “ตามสถานประกอบอาชีพ” อันนี้นักกีฬาจะต้องมีงานประจำทำ แล้วให้นายจ้างผู้ที่มีการจดทะเบียนสถานประกอบการตามจังหวัดต่างๆ เป็นผู้รับรองให้ ซึ่งแน่นอนว่า นักกีฬาที่มีงานทำแล้ว จะมีสิทธิ์เลือกที่จะขึ้นทะเบียนตามจังหวัดที่ตัวเองต้องการได้ ตามเงื่อนไขข้อนี้

และเมื่อลงทะเบียนเป็นนักกีฬาประจำจังหวัดแล้ว หากต้องการเปลี่ยนจังหวัด อันนี้จะเริ่มยาก สมมุตินักกีฬาจะย้ายจาก เชียงใหม่ ไป สงขลา อันดับแรกต้องทำหนังสือขอย้ายสังกัดสมาคมกีฬาจังหวัด เชียงใหม่ และต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากนั้นถึงจะนำเอกสารนี้ไปขอขึ้นทะเบียนที่จังหวัด สงขลาอีกที พูดง่ายๆ ก็คือ ต้องได้รับความยินยอมจากทั้งสองจังหวัด ทั้งจังหวัดที่ย้ายออก และ จังหวัดที่ย้ายเข้า ดังนั้นนักกีฬาควรพิจารณาจังหวัดที่ตนเองต้องการที่จะขึ้นทะเบียนให้ถี่ถ้วนด้วยเช่นกัน

หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนนักกีฬาสังกัดสมาคมกีฬา
1. คุณสมบัติทั่วไป
1.1 เป็นนักกีฬาสมัครเล่น
1.2 มีสัญชาติไทย
1.3 เป็นนักกีฬา หรือบุคลากรกีฬาที่สมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬาจังหวัด หรือ กกท. รับรอง

2. ประเภทการขึ้นทะเบียน
2.1 ขอขึ้นทะเบียน “ตามสูติบัตร” ใบสมัครขึ้นทะเบียนนักกีฬาและแบบคำขอมีบัตรนักกีฬา (จำนวน 2 ชุด) จะต้องแนบเอกสารหลักฐาน จำนวน 2 ชุด ดังนี้ 
2.1.1 สำเนาสูติบัตร หมายความถึง ใบเกิดของนักกีฬาที่เกิดในจังหวัดนั้นๆ 
2.1.2 สำเนาทะเบียนบ้านที่อยู่ปัจจุบัน
2.1.3 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
2.1.4 รูปถ่าย ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป

2.2 ขอขึ้นทะเบียน “ตามสถานศึกษา” ใบสมัครขึ้นทะเบียนนักกีฬาและแบบคำขอมีบัตรนักกีฬา (จำนวน 2 ชุด) จะต้องแนบเอกสารหลักฐาน จำนวน 2 ชุด ดังนี้ 
2.2.1 สำเนาสูติบัตร หมายความถึง ใบเกิดของนักกีฬา 
2.2.2 สำเนาทะเบียนบ้านที่อยู่ปัจจุบัน
2.2.3 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
2.2.4 หนังสือรับรองจากสถานศึกษาฉบับจริง
2.2.5 สำเนาใบระเบียนการศึกษาในปีปัจจุบัน หรือ ใบลงทะเบียนการเรียนในภาคเรียนปัจจุบัน
2.2.6 รูปถ่าย ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป

2.3 ขอขึ้นทะเบียน “ตามสถานประกอบอาชีพ” ใบสมัครขึ้นทะเบียนนักกีฬาและแบบคำขอมีบัตรนักกีฬา (จำนวน 2 ชุด) จะต้องแนบเอกสารหลักฐาน จำนวน 2 ชุด ดังนี้ 
2.3.1 สำเนาสูติบัตร หมายความถึง ใบเกิดของนักกีฬา 
2.3.2 สำเนาทะเบียนบ้านที่อยู่ปัจจุบัน
2.3.3 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
2.3.4 หนังสือรับรองการทำงานจากสถานประกอบการฉบับจริง
2.3.5 หนังสือรับรองการทำงานจริงจากนายกสมาคมกีฬาจังหวัด (สมาคมกีฬาจะออกให้)
2.3.6 หนังสือรับรองการทำงานจริงจากศูนย์ กกท. จังหวัด (ศูนย์ กกท.จังหวัดจะออกให้)
2.3.7 รูปถ่าย ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป

ให้ยื่นแบบใบสมัครขอขึ้นทะเบียนนักกีฬาที่สมาคมกีฬาจังหวัด  เพื่อทำการตรวจสอบเอกสารให้ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ แล้วสมาคมกีฬาจังหวัดจัดส่งเอกสารให้กับศูนย์ กกท. จังหวัด ดำเนินส่งเอกสารให้กับ กกท. ส่วนกลางดำเนินการต่อไป


เอกสารที่เกี่ยวข้อง

แบบคำขอมีบัตรประจำตัวนักกีฬาประจำจังหวัด
แบบคำขอย้ายสังกัดสมาคมกีฬาจังหวัด
ใบสมัครขึ้นทะเบียนนักกีฬาสังกัดสมาคมกีฬาจังหวัด
ระเบียบการกีฬาแห่งประเทศไทย 2550

*****************************

 

ขั้นตอนการจดทะเบียนชมรมกีฬาประจำจังหวัด

 1. คณะบุคคลผู้ที่สนใจกีฬาสกีและสโนว์บอร์ดในจังหวัดนั้นๆ จัดทำเอกสารดังต่อไปนี้

          1.1 รายชื่อคณะกรรมการบริหารชมรม
          1.2 คำให้การของผู้จะเป็นกรรมการของชมรมกีฬา 1 ชุด
          1.3 สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน ของกรรมการชมรมกีฬา คนละ 1 ชุด
          1.4 ข้อบังคับของ ชมรมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ดจังหวัด (ชื่อจังหวัด)
         
1.5 รายงานการประชุมคณะกรรมการ ชมรมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ดจังหวัด (ชื่อจังหวัด)

          พร้อมกรอก ใบสมัครเป็นสมาชิกประเภทชมรมกีฬาประจำจังหวัด ส่งมายังสมาคมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ดแห่งประเทศไทยเพื่อสมัครสมาชิก และรับหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกจากสมาคมฯ

ขั้นตอนนี้จะ อาจจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน เนื่องจากต้องรอให้ที่ประชุมประจำเดือนของสมาคมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ดแห่งประเทศไทยพิจารณารับสมัครสมาชิกตามขั้นตอนอย่างถูกต้อง

ตรวจสอบรายชื่อชมรมที่ขึ้นทะเบียนกับสมาคมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ดแห่งประเทศไทยได้ที่นี่ รายชื่อชมรมขึ้นทะเบียน

 2. เปลี่ยนสถานะจาก คณะบุคคล เป็นชมรมกีฬาภายใต้สมาคมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ดแห่งประเทศไทย โดยจะได้รับหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกสามัญประเภทชมรมกีฬา จากสมาคมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ดแห่งประเทศไทย

 3. ชมรมกีฬา นำเอกสาร ดังต่อไปนี้ ไปขอจดทะเบียนกับสมาคมกีฬาประจำจังหวัด

          3.1. รายชื่อคณะกรรมการบริหารชมรม
          3.2. คำให้การของผู้จะเป็นกรรมการของชมรมกีฬา 1 ชุด
          3.3. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน ของกรรมการชมรมกีฬา คนละ 1 ชุด
          3.4. ข้อบังคับของ ชมรมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ดจังหวัด (ชื่อจังหวัด)
          3.5. รายงานการประชุมคณะกรรมการ ชมรมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ดจังหวัด (ชื่อจังหวัด)
          3.6. หนังสือรับรองสถานะสมาชิกจากสมาคมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ดแห่งประเทศไทย
          3.7. สำเนาใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนสมาคมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ดแห่งประเทศไทย

          พร้อมกรอก แบบฟอร์มใบสมัครเป็นสมาชิกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด (ชื่อจังหวัด) และ คำขอจดทะเบียนชมรมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ดจังหวัด (ชื่อจังหวัด) 

หากติดปัญหาใดๆ ขอให้ขอคำปรึกษากับสมาคมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ดแห่งประเทศไทยได้ที่

สมาคมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ดแห่งประเทศไทย เลขที่ 286 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา (ชั้น 19) ถนนรามคำแหง หัวหมาก กทม 10240 

Download แบบฟอร์มต่างๆ ในการจัดตั้งชมรมกีฬาประจำจังหวัดได้ที่นี่

แบบฟอร์มจัดตั้งชมรมกีฬา (Doc)

แบบฟอร์มจัดตั้งชมรมกีฬา (pdf)

 

by Sueb T.

ผลการดำเนินงานของสมาคมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ดแห่งประเทศไทย

ผลการดำเนินงานของสมาคมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ดแห่งประเทศไทย

สมาคมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ดแห่งประเทศไทย มีภาระกิจหลักในการพัฒนากีฬาฤดูหนาวในประเทศไทยสู่การแข่งขันเพื่อความเป็นเลิศในการแข่งขันกีฬาในระดับ Olympic Games โดยสมาคมมีชนิดกีฬาที่อยู่ในความรับผิดชอบดังนี้ 

Continue reading “ผลการดำเนินงานของสมาคมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ดแห่งประเทศไทย”

ประวัติสมาคมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ดแห่งประเทศไทย

ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสมาคมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ดแห่งประเทศไทย

ประวัติ Cross Country Ski ในไทย

ประวัติ Alpine Ski ในไทย

บันทึกประวัติกีฬาโรลเลอร์สกีในไทย

ประวัติกีฬาโรลเลอร์สกี

กีฬาโรลเลอร์สกีเป็นชนิดกีฬาอยู่ในหมวดกีฬาครอสคันทรีสกี ขึ้นอยู่ภายใต้สหพันธ์สกีนานาชาติ หรือ

FIS (Ski and snowboard International Federation ) เป็นกีฬาที่ถูกพัฒนามาจากกีฬาครอสคันทรีสกี กล่าวถึง สหพันธ์สกีนานาชาติ หรือ FIS เป็นหน่วยงานระดับนานาชาติสูงสุดที่กำกับดูแลการเล่นสกี และสโนว์บอร์ด ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1924 ในเมืองชามอนี ประเทศฝรั่งเศส รับผิดชอบด้านกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวของการเล่นสกีลงเขา สกีข้ามทุ่ง สกีกระโดดไกล สกีนอร์ดิกผสม สกีลีลา และสโนว์บอร์ด และยังรับผิดชอบในการกำหนดกฎการแข่งขันระหว่างประเทศ ปัจจุบันองค์กรมีสมาชิกสมาคมสกีแห่งชาติ 118 สมาคม และตั้งอยู่ในเมืองโอเบอร์โฮเฟินอัมทูเนอร์เซ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

กีฬาโรลเลอร์สกีถูกพัฒนามากีฬาครอสคันทรีสกี เพื่อฝึกในภาคฤดูร้อนของนักเล่นสกีในสนามยางมะ

ตอย โรลเลอร์สกีคันแรกถูกสร้างขึ้นในช่วงกลางทศวรรษที่ 1930 ในประเทศอิตาลี และยุโรปเหนือ จนถึงปี ค.ศ.1970 โรลเลอร์สกีถูกใช้ในการฝึกสำหรับนักเล่นสกีในฤดูร้อน และได้เริ่มมีการแข่งขัน โดยการแข่งขันโรลเลอร์สกีครั้งแรกจัดขึ้นที่เมือง Asiago และ Sandrigo ทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี โรลเลอร์สกีที่ใช้จะมีล้อด้านหน้าหนึ่งล้อ และด้านหลังสองล้อ โครงแท่นโลหะมีขนาดตั้งแต่ 70 – 100 เซนติเมตร ได้มีการพัฒนาเพื่อใช้ในการฝึกซ้อมของนักกีฬา ส่งผลต่อการออกแบบโรลเลอร์สกีแบบใหม่ที่มีสองล้อสามารถใช้ได้ทั้งในสไตล์คลาสสิก และการเล่น สเก็ต

กีฬาโรลเลอร์สกีได้รับความนิยมอย่างมาก ในทวีปยุโรปมีการแข่งขันโรลเลอร์สกีจำนวนมาก

ปี ค.ศ.1979 สมาคมโรลเลอร์สกี (AISR,Assistiazione Italiana Skiroll) ถูกสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกใน

ประเทศอิตาลี และได้เปลี่ยนชื่อเป็น FISR (Federazione Italiana Skiroll) ในปี ค.ศ.1988

ปี ค.ศ. 1985 การแข่งขันโรลเลอร์สกีได้รับสถานะนานาชาติภายใต้ชื่อ European Rollerski

Federation

ปี ค.ศ. 1988 จัดการแข่งขันชิงแชมป์ยุโรปครั้งแรกที่ประเทศเนเธอร์แลนด์

ปี ค.ศ. 1992 สหพันธ์สกีนานาชาติ หรือ FIS (Federation International de Ski) ยอมรับว่า

โรลเลอร์สกีเป็นกีฬาที่แตกต่างจากสกีครอสคันทรี

ปี ค.ศ. 1998 FIS อนุญาตให้มีการแข่งขันโรลเลอร์สกีอย่างเป็นทางการ ภายใต้ชื่อการแข่งขัน FIS

World Championships ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก

สมาคมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ดแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา

เผยแพร่ และดำเนินกิจกรรมสกีและสโนว์บอร์ดทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ ทั้งด้านการแข่งขัน และการพัฒนาบุคลากรในระดับต่าง ๆ มีเป้าหมายด้านการแข่งขันที่จะส่งนักกีฬาสกีและสโนว์บอร์ดเข้าแข่งขัน จากการคัดเลือกตัวแทนนักกีฬาที่มาจากการแข่งขันโรลเลอร์สกีชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย เป็นนักกีฬาทีมชาติเข้าร่วมการแข่งขันรายการกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว (Olympics Winter Games) , กีฬายุวชนโอลิมปิก (Youth Olympics Games) , กีฬามหาวิทยาลัยโลก (Winter Universiade Games) , World Cup และกีฬาเอเชียนเกมส์ฤดูหนาว (Asian Winter Games)

กีฬาโรลเลอร์สกีถือเป็นหนึ่งชนิดกีฬาที่สามารถฝึกซ้อม และพัฒนาไปสู่กีฬาฤดูหนาว ซึ่งสามารถจัดการแข่งขันภายในประเทศไทยได้ ในปัจจุบันสมาคมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ดแห่งประเทศไทย ให้การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมและผลักดันให้เกิดนักกีฬาภายในประเทศ เนื่องจากประเทศไทยเป็นเมืองร้อน และสมาคมต้องการที่จะให้โอกาสคนไทย เยาวชนไทยได้มีส่วนร่วม โดยสามารถฝึกฝนเพื่อเข้าร่วมการคัดตัวเข้ามาเป็นนักกีฬาทีมชาติของสมาคมสกีและสโนว์บอร์ด และสามารถพัฒนาเพื่อเป็นนักกีฬาครอสคันทรีต่อไป

รายการการแข่งขันกีฬาโรลเลอร์สกีในประเทศไทย

-การแข่งขันโรลเลอร์สกีชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1 ประจำปี 2561 ณ สนามราชมังคลากีฬา

สถานการกีฬาแห่งประเทศไทยหัวหมาก เป็นรายการแข่งขันที่จัดแข่งขันโรลเลอร์สกีครั้งแรกแรกในประเทศไทย

-การแข่งขันโรลเลอร์สกีชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2 ประจำปี 2561 ณ หาดทุ่งวัวแล่น

จังหวัดชุมพร  เป็นการแข่งขันที่สหพันธ์กีฬาสกีนานาชาติให้การรับรองเป็นครั้งแรก โดยมีนักกีฬาจากทั่วประเทศเข้าร่วมแข่งขันกว่า 60 คน และเป็นการคัดตัวนักกีฬาชาย 6 คน หญิง 6 คน ซึ่งเกิดระหว่างปี 2002 – 2003 เพื่อเข้าเก็บตัวไปแข่งขันในภาระกิจ 2018 WINTER CHILDREN OF ASIA INTERNATIONAL ครั้งที่ 1 ณ เมือง ซาฮาลิน ประเทศรัสเซีย และมีรายการแข่งขัน FIS Race เพื่อสะสมคะแนน FIS Point จัดอันดับโลก

-การแข่งขันโรลเลอร์สกีชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 3 ประจำปี 2562 ณ ถนนหน้าที่ว่าการ

อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร โดยมีการคัดตัวนักกีฬาชาย 2 คน นักกีฬาหญิง 2 คน ซึ่งเกิดระหว่างปี 2002 – 2004 เพื่อเป็นนักกีฬาทีมชาติแข่งขันรายการ Winter Youth Olympic Game 2020 ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และมีรายการแข่งขัน FIS Race เพื่อสะสมคะแนน FIS Point จัดอันดับโลก

-การแข่งขันโรลเลอร์สกีชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4 ประจำปี 2563 ณ มหาวิทยาลัยมหิดล

-การแข่งขันโรลเลอร์สกีในกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 47  ประจำปี 2565 จังหวัดศรีสะเกษ กีฬาโรลเลอร์สกี

ถูกบรรจุเข้าแข่งขันเป็นครั้งแรก

-การแข่งขันโรลเลอร์สกีชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ประจำปี 2565 ณ อ่างเก็บน้ำดอกกราย อำเภอ

ปลวกแดง จังหวัดระยอง มีรายการแข่งขัน FIS Race 2 รายการ เป็นการแข่งขันระดับนานาชาติสะสมคะแนน FIS Point จัดอันดับโลก มีนักกีฬาจากประเทศเกาหลีใต้เข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ด้วย และมีรายการคัดตัวนักกีฬาทีมชาติรุ่น U15 U16 เพื่อทำการเก็บตัวฝึกซ้อมเข้าร่วมแข่งขันรายการ Winter Youth Olympic Game 2024 และ U20 เพื่อทำการเก็บตัวฝึกซ้อมเข้าร่วมแข่งขัน Winter Olympic Game 2026

-การแข่งขันกีฬาโรลเลอร์สกีในกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 37 ประจำปี 2565 จังหวัดพัทลุง

-การแข่งขันกีฬาโรลเลอร์สกีในกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 38 ประจำปี 2566 จังหวัดนครสวรรค์

รายการการแข่งขันกีฬาโรลเลอร์สกีระดับนานาชาติ

-ปี 2019 ตัวแทนนักกีฬาทีมชาติไทย 5 คน ประกอบด้วย 1.นายมรรค จันเหลือง 2.นายสราวุฒิ เกิดสิน 3.นางสาวคาเรน จันเหลือง 4.นางสาวดวงกมล หีดชนา 5.นางสาวออยอุมา เพ็งกุกูล เข้าร่วมการแข่งขัน Roller Ski World Cup และ Junior World Cup ณ เมืองคันตี้-มานซิยัค ประเทศรัสเซีย โดยนักกีฬาหญิงทั้ง 3 คน ทำผลงานผ่านเข้ารอบคัดเลือกรายการประเภท Sprint 200 เมตร

กิจกรรมการพัฒนาบุคลากรด้านกีฬาโรลเลอร์สกีของสมาคมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ดแห่งประเทศไทย

-อบรมผู้ตัดสิน level 1 ณ ห้องประชุม 222 การกีฬาแห่งประเทศไทย ระหว่างวันที่ 27 – 30 กันยายน 2561 มีผู้เข้าร่วมอบรม 30 คน

          -อบรมผู้ฝึกสอนกีฬาโรลเลอร์สกีระดับ 1 ณ ห้องประชุม 222 การกีฬาแห่งประเทศไทย ระหว่างวันที่ 7 – 9 กุมภาพันธ์ 2563 มีผู้เข้าร่วมอบรม 26 คน

          -โครงการพัฒนาบุคลากรกีฬาระดับชาติ ประเภทผู้ฝึกสอนกีฬาโรลเลอร์สกีขั้นพื้นฐาน ณ ห้องประชุมวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ระหว่างวันที่ 25 – 27 สิงหาคม 2563 มีผู้เข้าร่วม 31 คน

          -โครงการจัดอบรมผู้ฝึกสอนกีฬาโรลเลอร์สกี ระดับชาติ ประจำปี 2563 ณ โรงแรมซิตี้บีช รีสอร์ท จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างวันที่ 25 – 28 พฤศจิกายน 2563 มีผู้เข้าร่วม 35 คน

          -โครงการจัดอบรมผู้ฝึกสอนกีฬาโรลเลอร์สกี ระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน ณ โรงแรมพีลูดส์ จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างวันที่ 27 – 29 พฤศจิกายน 2564 มีผู้เข้าร่วม 25 คน

          -โครงการจัดอบรมผู้ตัดสินกีฬาโรลเลอร์สกี ระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน ณ โรงแรมพีลูดส์ จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างวันที่ 1 – 3 ธันวาคม 2564 มีผู้เข้าร่วม 20 คน

          -FIS Development Coaches Training Camp – Cross-Country 2022 ณ ประเทศสโลวีเนีย ระหว่างวันที่ 29 กันยายน – 2 ตุลาคม 2565 โดยรายการนี้ได้มีตัวแทนผู้ฝึกสอนจำนวน 2 คน และนักกีฬาจำนวน 2 คน เข้าร่วมรับการพัฒนา

          -อบรมผู้ฝึกสอนกีฬาโรลเลอร์สกีขั้นพื้นฐาน ณ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2565 มีผู้เข้าร่วม 13 คน

ชมรมสกีและสโนว์บอร์ด

          ปัจจุบันกีฬาโรลเลอร์สกีกำลังได้รับความนิยม หลาย ๆ จังหวัดมีการจัดตั้งชมรมได้รับจดทะเบียนโดยสมาคมสกีและสโนว์บอร์ดแห่งประเทศไทย เพื่อส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันโรลเลอร์สกีรายการต่าง ๆ โดยแบ่งตามภาคของการกีฬาแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย

          ภาค 1

          -ชมรมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ด กรุงเทพมหานคร

          -ชมรมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ด จังหวัดนนทบุรี

          -ชมรมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ด จังหวัดระยอง

          -ชมรมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ด จังหวัดสมุทรปราการ

          ภาค 2

          -ชมรมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ด จังหวัดราชบุรี

          ภาค 3

          -ชมรมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ด จังหวัดนครพนม

          -ชมรมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ด จังหวัดบุรีรัมย์

          -ชมรมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ด จังหวัดศรีสะเกษ

          -ชมรมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ด จังหวัดอุดรธานี

          -ชมรมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ด จังหวัดอุบลราชธานี

          ภาค 4

          -ชมรมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ด จังหวัดกระบี่

          -ชมรมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ด จังหวัดชุมพร

          -ชมรมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ด จังหวัดสงขลา

          -ชมรมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ด จังหวัดสุราษฎร์ธานี

          ภาค 5

          -ชมรมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ด จังหวัดเชียงใหม่

          -ชมรมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ด จังหวัดน่าน

          -ชมรมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ด จังหวัดลำปาง

          รวมชมรมสกีและสโนว์บอร์ดที่ขึ้นทะเบียนกับสมาคมสกีและสโนว์บอร์ดแห่งประเทศไทยทั้งสิ้นจำนวน 17 ชมรม

ความมั่นใจของนักกีฬาเป็นตัวบ่งบอกชัยชนะ

จิตวิทยาการกีฬา คือ นักกีฬามีความรู้สึกอยากเอาชนะ อยากพัฒนา อยากสร้างสถิติใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา นักกีฬาที่มีสิ่งต่างๆ เหล่านี้อยู่ในตัวตลอดเวลา จะเป็นนักกีฬาที่มีโอกาสประสบความสำเร็จในอนาคต สูงกว่านักกีฬาทั่วไป

เราจะรู้ได้อย่างไรว่านักกีฬามีความแข็งแรงทางด้านจิตใจ หรือตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้สามารถดูได้จาก 10 ข้อนี้

1 ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคต่างๆ
2 มีความสม่ำเสมอทั้งเรื่องการฝึกซ้อมและการวางตัว
3 เชื่อมั่นในประสิทธิภาพของตนเองมันใจว่าตัวเองสามารถทำได้
4 ปรับปรุงแก้ไขปัญหาเพื่อเอาชนะความพ่ายแพ้ของตนเอง
5 มีความเชื่อมั่นในตนเอง
6 เต็มใจที่จะลองผิดลองถูกเรียนรู้ข้อผิดพลาด
7 พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงเสมอ
8 รู้และเข้าใจจุดอ่อนและจุดแข็งของตนเอง
9 มีเป้าหมายและวิสัยทัศน์เพื่อไปถึงเป้าหมายของตนเอง
10 อยู่ในระเบียบวินัยเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
แหล่งข้อมูลจาก : BELIVPHO

 

จิตวิทยาการกีฬาหัวข้อที่ดูเหมือนงาน แต่ยากที่จะทำให้นักกีฬาคนนึง มีความจดจ่อและมีสมาธิในสิ่งที่ทำ ในโลกปัจจุบันที่ ทุกๆ คนล้วนมีโทรศัพท์มือถือ ที่พร้อมจะพานักกีฬาออกทะเลได้ทุกเวลา ที่เค้าจับมันขึ้นมา

Mental Toughness กับการแสดงความสามารถ | EP.24

การจินตภาพกับการเพิ่มความมั่นใจ | EP.18 | ULTIMATE ATHLETE

การตั้งเป้าหมายในการฝึกซ้อม | EP.16 | ULTIMATE ATHLETE

 

การยืดเหยียดกล้างเนื้อและการนวดคลายเส้น

“ยืดกล้ามเนื้อ” คืออะไร ทำไมจึงสำคัญ?

การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (Stretching)เป็นสิ่งจำเป็นในการออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาให้เกิดมีประสิทธิภาพ และสร้างความได้เปรียบในการเคลื่นไหว เพราะจะช่วยให้เอ็นข้อต่อและเส้นใยกล้ามเนื้อ ที่ได้รับการยืดเหยียดมีความยาวและมุมการเคลื่อนไหวที่ดี  ทำให้สามารถช่วยป้องกันการฉีกขาดของเส้นใยกล้ามเนื้อ และลดการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้ว เราจะทำการยืดเหยียดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ในช่วงการอบอุ่นร่างกาย (Warm up) ซึ่งอาจจะใช้เป็นการยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบมีการเคลื่อนที่ (Dynamic stretching) และการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ (Cool down) ใช้การยืดเหยียดแบบค้างอยู่กับที่ (Static stretching) ดังนั้น ก่อนจะออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาทุกครั้ง เราจึงควรทำการยืดเหยียดกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอเพื่อลดการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย

https://newtonemclinic.com/%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD_stretching-exercise/

 

การ Warm up และ Cooldown | EP.1 | ULTIMATE ATHLETE

การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ | EP.2 | ULTIMATE ATHLETE

สมรรถภาพทางกายที่จำเป็นของนักกีฬา | EP.3 | ULTIMATE ATHLETE

 

ชนิดและประเภทความแข็งแรงกล้ามเนื้อ | EP.4 | ULTIMATE ATHLETE

 

ความสำคัญของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว | EP.5 | ULTIMATE ATHLETE

 

https://www.facebook.com/watch/109904694711591/1697947573932276/

 

http://www.idoctorhouse.com/library/physiology-muscle/

 

 

 

 

โภชนาการนักกีฬา

โภชนาการสำหรับนักกีฬา-ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ ตอนที่ 1/8

โภชนาการการกีฬา-ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ อาหารและโภชนาการถือว่าเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น และมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของคนทุกคนในทุกเพศวัย เพราะร่างกายต้องการสารอาหารนับร้อยชนิดไปใช้ในการสร้างความเจริญเติบโตให้กับร่างกายและยังเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยในการพัฒนาการอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายชั่วชีวิต

โภชนาการสำหรับนักกีฬา-หลักสำคัญของอาหาร ตอนที่ 2/8

อาหารและโภชนาการ การที่นักกีฬาจะได้มาซึ่งความสำเร็จในการแข่งขันกีฬานั้นจะต้องประกอบด้วย การฝึกซ้อมมาอย่างดี ในระยะเวลานานเพียงพอที่จะทำให้เกิดความชำนาญ และเกิดสมรรถภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย

โภชนาการสำหรับนักกีฬา-คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) ตอนที่ 3/8

คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานที่ดีแก่ร่างกายและมีราคาถูก ร่างกายจะเก็บคาร์โบไฮเดรตไว้เพื่อใช้เป็นพลังงานในรูปของไกลโคเจน (Glycogen) โดยเก็บสะสมไว้ที่ตับและกล้ามเนื้อ

โภชนาการสำหรับนักกีฬา-ไขมัน (Fat) ตอนที่ 4/8

ไขมัน (Fat) สำหรับนักกีฬาในการบริโภคไขมันควรมีการจำกัดปริมาณไขมันที่บริโภค ทั้งนี้ เพราะไขมันเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานสูง สูงกว่าคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนในปริมาณที่เท่ากัน คือ 1 กรัมของไขมันให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี ส่วนคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนให้เพียง 4 กิโลแคลอรีเท่านั้น นอกจากนี้ไขมันยังเป็นตัวที่ทำให้อาหารอร่อยและใช้ในการประกอบอาหารหลายชนิด

โภชนาการสำหรับนักกีฬา-โปรตีน (Protein) ตอนที่ 5/8

โปรตีน (Protein) เป็นสารอาหารที่ใช้ในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ผิวหนัง กระดูก เลือด เซลล์ต่าง ๆ รวมถึงฮอร์โมน เอ็นไซม์ และภูมิคุ้มกันต่าง ๆ ของร่างกาย และจากการศึกษาพบว่านักกีฬามีความต้องการโปรตีนเพิ่มมากขึ้น

โภชนาการสำหรับนักกีฬา-เกลือแร่และวิตามิน (Vitamins and Minerals) ตอนที่ 6/8

เกลือแร่และวิตามิน(Vitamins and Minerals) นักกีฬาที่บริโภคอาหารครบทั้ง 5 หมู่ แต่ละหมู่บริโภคอาหารหลากหลายชนิด ผลัดเปลี่ยนกัน กินผักและผลไม้เป็นประจำ จะได้รับเกลือแร่และวิตามินอย่างพอเพียงกับความต้องการของร่างกายแล้วไม่จำเป็นต้องกินวิตามินและเกลือแร่เสริมอีก

โภชนาการสำหรับนักกีฬา-น้ำ(Water) ตอนที่ 7/8

น้ำ  (Water) น้ำมีความสำคัญต่อร่างกายในการนำสารอาหารไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และเป็นส่วนประกอบของน้ำย่อย ฮอร์โมน และสารอื่น ๆ ช่วยรักษาสมดุลของร่างกาย และช่วยนำของเสียและความร้อนออกจากเซลล์การออกกำลังกายและเล่นกีฬาทำให้เสียเหงื่อ ในเหงื่อจะมีน้ำเป็นองค์ประกอบร้อยละ 90 และที่เหลือเป็นเกลือแร่

โภชนาการสำหรับนักกีฬา-ใยอาหาร (Dietary Fiber) ตอนที่ 8/8

ใยอาหาร (Dietary Fiber) ใยอาหารมีคุณสมบัติในการช่วยกระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะอาหารในการย่อย และการดูดซึมอาหาร โดยเฉพาะช่วยให้น้ำตาลจากอาหารเข้าสู่กระแสเลือดอย่างช้า ๆ ซึ่งน้ำตาลในกระแสเลือดนี้ร่างกายจะนำไปเผาผลาญให้เกิดเป็นพลังงาน

https://www.sportdream.in.th/category/nutrition/

 

สารอาหารที่จำเป็นต่อผู้ออกกำลังกาย | EP.31 | ULTIMATE ATHLETE 

อาหารเสริมสําหรับผู้ออกกําลังกาย | EP.40 | ULTIMATE ATHLETE

อาหารเพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวได้ดี | EP.38 | ULTIMATE ATHLETE

อาหารขณะที่ออกกำลังกายฝึกซ้อม | EP.37 | ULTIMATE ATHLETE

อาหารก่อนออกกำลังกายสำหรับนักกีฬา | EP.36 | ULTIMATE ATHLETE 

สารอาหารขณะออกกำลังกาย | EP.34 | ULTIMATE ATHLETE